วันจันทร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

การทำเกษตรทษฎีใหม่


พื้นที่ส่วนที่สี่ 1.2 ไร่ (10%) เป็นพื้นที่สร้างที่อยู่อาศัยและคอกสัตว์ 1. สร้างโรงเรือนเลี้ยงไก่ จำนวน 1 หลังขนาด 3*4 เมตร เลี้ยงไก่แล้ว 3 รุ่น จำนวน 200 ตัว คัดไว้เป็นพ่อพันธุ์ จำนวน 2 ตัวและแม่พันธุ์ จำนวน 10 ตัว 2. สร้างโรงเรือนเลี้ยงเป็ดจำนวน 1 หลัง ขนาด 3*4 เมตร ใช้เลี้ยงเป็ด 3 รุ่น จำนวน 129 ตัว คัดไว้เป็นพ่อพันธุ์ จำนวน 2 ตัวและแม่พันธุ์ จำนวน 10 ตัว 3. สร้างโรงเรือนสุกร จำนวน 1 หลัง ขนาด 3.5*19.5 เมตร ดำเนินการเลี้ยงสุกรจำนวน 20 ตัว 4. สร้างศาลาถ่ายทอดเทคโนโลยี จำนวน 1 หลัง ขนาด 3.5*10.5 เมตร ใช้เป็นพื้นที่แสดงและถ่ายทอดความรู้แก่เกษตรกรและผู้สนใจทั่วไป

การทำเกษตรทษฎีใหม่


พื้นที่ส่วนที่สาม 3.6 ไร่ (30%) ปลูกพืชแบบผสมผสาน โดยแบ่งพื้นที่ปลูกดังนี้ 1. พื้นที่จำนวน 2 ไร่ ปลูกมะม่วงพันธุ์โชคอนันต์ จำนวน 50 ต้น 2. พื้นที่จำนวน 0.5 ไร่ ปลูกกล้วยน้ำหว้า จำนวน 60 ต้น 3. พื้นที่จำนวน 0.5 ไร่ ปลูกพืชผัก จำนวน 20 แปลง 4. พื้นที่จำนวน 0.6 ไร่ ปลูกไม้ใช้สอย อาทิเช่น - ต้นสัก จำนวน 30 ต้น - ต้นกระดาษ จำนวน 80 ต้น - ต้นไผ่รวก จำนวน 10 ต้น - ต้นไผ่ตง จำนวน 5 ต้น - ต้นหวาย จำนวน 30 ต้น

การทำเกษตรทษฎีใหม่


พื้นที่ส่วนที่สอง 3.6 ไร่ (30%) ใช้ปลูกข้าว ดำเนินการในปี 2547 เตรียมดิน หว่านกล้าและปักดำโดยใช้ข้าวจ้าวหอมมะลิ 105 จำนวน 40 กิโลกรัม ทำการกำจัดวัชพืชในนาข้าว โดยการถอน ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 16 – 20 – 0 จำนวน 30 กิโลกรัมและปุ๋ยเคมีสูตร 40 – 0 – 0 จำนวน 30 กิโลกรัม

การทำเกษตรทษฎีใหม่


พื้นที่ส่วนที่หนึ่ง จำนวน 3.6 ไร่ (30%) ขุดสระกักเก็บน้ำจำนวน 2 สระ สามารถกักเก็บน้ำ ได้รวม 10,455 ลูกบาศก์เมตร เพียงพอต่อการนำน้ำมาใช้ ในการทำการเกษตรได้ทั้งป ีแต่การผันน้ำมาใช้นั้น ยังคงต้องใช้เครื่องจักรกลในการสูบน้ำมาใช้ ทำให้สูญเสียพลังงานเชื้อเพลิงจำนวนมาก โดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้ง ถ้าสามารถลดการใช้พลังงานลงได้หรือ หาพลังงาน เชื้อเพลิงอื่นทดแทน หรือมีการวางแผนการใช้น้ำ เช่น หากพื้นที่มีระดับที่ต่างกันมาก สามารถวางท่อนำน้ำออกมาใช้โดยไม่ต้องใช้เครื่องสูบน้ำและน้ำมัน เป็นการจัดการทำให้ต้นทุนการเกษตรลดลงได้ในระยะยาว

การทำเกษตรทษฎีใหม่


เกษตรทฤษฎีใหม่ การทำเกษตรทฤษฎีใหม่ เป็นทฤษฎีแห่งการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและการบริหารงานในการทำการเกษตรที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช มหาราช ทรงพระราชทานแก่พสกนิกรชาวไทย เพื่อแก้ไขปัญหาการเกษตร โดยการแบ่งพื้นที่การเกษตรออกเป็น 4 ส่วน คือ ส่วนที่หนึ่ง ขุดสระกักเก็บน้ำ จำนวน 30% ของพื้นที่ ส่วนที่สอง ปลูกข้าว จำนวน 30% ของพื้นที่ ส่วนที่สาม ปลูกไม้ผลไม้ยืนต้น ส่วนที่สี่ เป็น พื้นที่ที่ใช้สร้างสิ่งปลูกสร้างเช่น ที่อยู่อาศัย โรงเรือนเลี้ยงสัตว์ ฉาง จำนวน 10% ของพื้นที่ จำนวนสัดส่วนของพื้นที่นี้ทั้งหมดสามารถปรับเพิ่มหรือลด ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของสภาพพื้นที่แต่ละแห่ง เช่นครอบครัวหนึ่งมีสมาชิกจำนวน 4 คน พื้นที่มีแหล่งน้ำใช้ได้ตลอดทั้งปี แต่ดินม ีความอุดมสมบูรณ์ต่ำก็ควรปรับลดพื้นที่ขุดสระ และเพิ่มพื้นที่นาข้าวเพื่อให้มีข้าวบริโภคเพียงพอตลอดทั้งปี